Money Market

ในเวอร์ชั่นแรกของ Alpaca Finance สินทรัพย์ใน lending vaults นั้นถูกจำกัดเฉพาะการกู้เพื่อนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์ leveraged yield farming เท่านั้น AF2.0 จะเพิ่มความหลากหลายและศักยภาพในการสร้างรายได้ให้กับ lending vaults ของเรา โดยการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้เงินทุนให้ได้มากขึ้นและเพิ่มกรณีการใช้งานสำหรับเงินทุนของเรา

ตัวอย่างแรกของการใช้งาน AF2.0 คือการยืมโดยที่ต้องมีสินทรัพย์ค้ำประกันเกิน (over-collateralized lending) เพื่อที่จะสามารถใช้เงินกู้ภายนอกได้ คล้ายกับแพลตฟอร์มกู้เงินอื่นๆเช่น Venus และ Compound นี่หมายความว่าผู้กู้สามารถกู้เงินจาก lending vault ได้แล้ว ซึ่งเป็นกรณีการใช้งานที่หลายคนเรียกร้องมา

สัญญา AF2.0 นั้นทำให้สภาพคล่องในพูลกู้ยืมถูกนำไปใช้ในกรณีการใช้งานที่ถูก whitelist ได้ นอกเหนือจาก over-collateralized lending และ LYF ซึ่งเป็นสิ่งที่จะช่วยเพิ่มรายได้และประสิทธิภาพของเงินทุนสำหรับผู้ฝาก รวมไปถึงรายได้สำหรับ xALPACA ด้วย สิ่งนี้รวมไปถึงผลิตภัณฑ์และการร่วมมือกันระหว่างโปรโตคอลที่ยังไม่เปิดเผยอีกด้วย โดยสรุปแล้วการอัพเกรดครั้งนี้จะทำให้แพลตฟอร์ม Alpaca มีความยืดหยุ่นที่มากขึ้นทั้งภายในแล้วภายนอก

เพราะฉะนั้นเรามาเริ่มกันที่ข้อดีของ money market ก่อน

1. ระดับของสินทรัพย์เพื่อการจัดการความเสี่ยงที่ดีขึ้น

สินทรัพย์ทุกชนิดจะสามารถนำไปฝากและถูกกู้ได้ อย่างไรก็ตามสินทรัพย์แต่ละชนิดจะถูกจัดหมวดหมู่ให้อยู่หนึ่งในสามระดับขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของสินทรัพย์แต่ละชนิด โดยที่แต่ละระดับจะมีข้อจำกัดที่ต่างกันเพื่อที่จะจัดการความเสี่ยงได้ดีขึ้น

  • Collateral tier: สามารถใช้เป็นสินทรัพย์ค้ำประกันเพื่อกู้สินทรัพย์อื่นๆได้ สามารถถูกกู้พร้อมกับสินทรัพย์อื่นๆได้ (ใน position หนึ่งกลุ่ม หรือเรียกอีกอย่างว่าบัญชีรอง) ระดับนี้นั้นจะถูกสำรองไว้สำหรับสินทรัพย์คริปโต "blue-chip" ที่มีความปลอดภัยมากที่สุด

  • Cross tier: ไม่สามารถนำไปใช้เป็นสินทรัพย์ค้ำประกันเพื่อกู้สินทรัพย์อื่นๆได้ แต่มันสามารถถูกยืมพร้อมกับสินทรัพย์ชนิดอื่นๆได้ (ในบัญชีรองหนึ่งสามารถมีสินทรัพย์ที่ถูกกู้ได้หลากหลาย)

  • Isolation tier: ไม่สามารถนำไปใช้เป็นสินทรัพย์ค้ำประกันเพื่อกู้สินทรัพย์อื่นๆได้ และมันสามารถถูกกู้ใน positions (isolated positions) ที่แยกออกมาได้ แต่ไม่สามารถกู้สินทรัพย์อื่นๆได้

*Positions ทุกระดับสามารถมีสินทรัพย์ค้ำประกันได้หลายชนิด

โครงสร้างนี้ทำให้สามารถนำเหรียญขึ้นกระดาน lending โดยไม่ต้องผ่านการอนุมัติ (permissionless listing) (เฉพาะใน Isolation tier) สำหรับสินทรัพย์อะไรก็ตามบนแพลตฟอร์มเรา ซึ่งจะทำให้ lending ของ Alpaca มีศักยภาพในการเติมโตที่ไม่สิ้นสุด ผู้ใช้งานสามารถกู้ altcoins ได้หลากหลาย เปรียบดั่งสวรรค์ของผู้ที่ชอบเปิด short position

ในขณะเดียวกัน โมเดลนี้ยังเป็นมาตรการความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้งานและผู้ฝากของเรา (เพราะว่า Isolation และ Cross tier ไม่อนุญาติให้ผู้ใช้งานใช้สินทรัพย์ tier เหล่านี้เป็นสินทรัพย์ค้ำประกัน)

2. โมเดลอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมที่ยืดหยุ่น

ใน Alpaca Finance เวอร์ชั่นแรกนั้นโปรโตคอลถูกจำกัดในการใช้อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมแบบเดียวในการกู้ยืม ข้อจำกัดนี้ทำให้เราไม่สามารถที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยในระดับย่อยได้ เช่น การใช้อัตราดอกเบี้ยที่ต่างกันในแต่ละพูล LYF ในอนาคต AF2.0 เราสามารถที่จะกำหนดโมเดลอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมได้อย่างอิสระตามแต่ละสินทรัพย์และกรณีการใช้งาน ซึ่งทำให้เราสามารถกำหนดตามสถานการณ์ได้เพื่อให้ทุกพูลและผลิตภัณฑ์ทำงานได้และมีกำไร!

วิธีนี้จะมีผลที่ระดับย่อยสำหรับแต่ละพูลในผลิตภัณฑ์เดียวกัน ตัวอย่างเช่นเราสามารถที่จะปล่อยอัตราดอกเบี้ยที่ถูกลงสำหรับพูลที่มีความผันผวนน้อยเช่น พูล stablecoin-stablecoin (ซึ่งมี TVL ที่สูงมากในอดีตเมื่อ APYs นั้นสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยกู้ยืม แต่ตอนนี้มี TVL ที่น้อยกว่าเดิมเพราะว่าอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมที่มีแบบเดียวนั้นสูงเมื่อเทียบกับ APYs)

เราสามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้เหมาะกับสถานการณ์และผลิตภัณฑ์แต่ละอย่างได้ ตัวอย่างเช่น การยืม BNB โดยที่ต้องมีสินทรัพย์ค้ำประกันเกิน BNB สามารถมีโมเดลอัตราดอกเบี้ยแบบหนึ่ง ในขณะที่การยืม BNB สำหรับ LYF ใช้โมเดลอีกแบบหนึ่งที่มีอัตราดอกเบี้ยที่ต่างกัน การกู้ยืมสำหรับ AVs สามารถที่จะมีโมเดลอีกแบบหนึ่งเลย

โดยสรุปแล้วความยืดหยุ่นที่เพิ่มขึ้นมานี้ทำให้เราสามารถตั้งอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมให้ขึ้นอยู่กับพูลและความเสี่ยงของแต่ละผลิตภัณฑ์, อุปสงค์, และพฤติกรรมของนักลงทุน วิธีการนี้จะทำให้ระบบโดยรวมมีประสิทธิภาพที่มากขึ้นสำหรับผู้มีส่วนร่วมทุกคน และเปิดโอกาสให้เราสามารถสร้างกำไรแบบใหม่ได้อีกหลากหลายวิธีเพื่อผู้ใช้งานทุกคนผ่านการปรับที่เรียบง่าย มันยังจะสร้างสถานการณ์ที่ดีที่สุดในการเพิ่มการใช้งานของแต่ละผลิตภัณฑ์ ซึ่งทำให้มีรายได้สำหรับ ALPACA governance stakers ที่มากขึ้น

3. ความจุของมูลค่าการค้ำประกัน/มูลค่ากู้การสินทรัพย์

AF2.0 จะใช้วิธีการคำนวณแบบสองข้างสำหรับ Safety Buffer (บัฟเฟอร์เพื่อความปลอดภัย) และ Collateral Factor (ส่วนประกอบสินทรัพย์ค้ำประกัน) ในการคำนวณ ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถลดความเสี่ยงสำหรับผู้ปล่อยกู้และผู้ถือสินทรัพย์ โดยการที่แยกความเสี่ยงของแต่ละสินทรัพย์ ด้วยวิธีนี้สินทรัพย์แต่ละชนิดจะมีสองค่า: Borrow Factor (ส่วนประกอบการกู้) และ Collateral Factor (ส่วนประกอบสินทรัพย์ค้ำประกัน) ดังนั้นโปรโตคอลจะสามารถคำนวณความเสี่ยงของ position ได้ดีขึ้นโดยใช้วิธีการคำนวณนี้:

  1. มูลค่าความเสี่ยงของหนี้: มูลค่าของหนี้ของผู้กู้ (มูลค่าที่ถูกกู้) สามารถมีน้ำหนักมากขึ้นได้ตามความเสี่ยงของสินทรัพย์ที่ถูกกู้แต่ละชนิด ซึ่งดูได้จาก Borrow Factor ของสินทรัพย์นั้นๆ

  2. มูลค่าความเสี่ยงของสินทรัพย์ค้ำประกัน: มูลค่าของสินทรัพย์ค้ำประกันสามารถมีน้ำหนักลดลงได้ตามความเสี่ยงของสินทรัพย์ค้ำประกันแต่ละชนิด ซึ่งดูได้จาก Collateral Factor ของสินทรัพย์นั้นๆ

*โปรดทราบไว้ว่าตัวประกอบที่ไว้ใช้คำนวณมูลมสี่ยงของแต่ละสินทรัพย์จะไม่ถูกเปลี่ยนบ่อยหรือถ้าไม่มีเหตุผลจำเป็น ถึงแม้ว่า Borrow Factor และ Collateral Factor จะถูกปรับบ้างเป็นบางครั้งผ่านการโหวตถ้าความเสี่ยงของสินทรัพย์แต่ละชนิดเปลี่ยนไป ตัวประกอบจะถูกตั้งค่าเป็นตัวแปลใน smart contracts ซึ่งจะเปิดเผยต่อสาธารณะและถูกอัพเดทบน docs ของเรา ซึ่งสามารถคาดได้ว่าตัวเลขส่วนใหญ่จะมีค่าคงที่

วิธีการนี้จะเพิ่มความปลอดภัยให้กับโปรโตคอลเพราะว่ามันจะทำให้ AF2.0 แยกตัวประกอบความเสี่ยงของแต่ละสินทรัพย์สำหรับการเคลื่อนไหวทางราคาทั้งขาขึ้นและขาลงได้ ความเสี่ยงเหล่านี้จะถูกเก็บเป็นส่วนประกอบสินทรัพย์ค้ำประกัน (เฉกเช่น Compound) และส่วนประกอบการกู้ ทั้งนี้วิธีการนี้จะทำให้เพดานหนี้ (liquidation threshold) ของแต่ละ position ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของสินทรัพย์โดยรวมที่เกี่ยวข้องกับ position นั้น

ตัวอย่าง:

อลิซมี USDC มูลค่า $1,000 และต้องการที่จะกู้ BNB เธอจะสามารถกู้ได้เท่าไหร่?

ถ้า USDC มีค่า collateral factor ที่ 0.9 และ BNB มีค่า borrow factor ที่ 0.7 ดังนั้นผู้ใช้งานสามารถกู้ได้มากถึง $1,000 * 0.9 * 0.7 = $630 ในหน่วย BNB ด้วยการกู้ระดับนี้ มูลค่าความเสี่ยงของสินทรัพย์ค้ำประกันจะมีมูลค่า $1,000 / 0.9 = $900 และมูลค่าความเสี่ยงของหนี้จะมีมูลค่า $630 / 0.7 = $900 ถ้าราคา BNB ขึ้น มูลค่าความเสี่ยงของหนี้ของเธอก็จะเพิ่มขึ้นเป็น >$900 และ position จะถูกบังคับชำระหนี้ buffer สำหรับการบังคับชำระหนี้ (ก่อนที่จะเกิดหนี้เสีย) จะเท่ากับ $1,000 - $630 = $370

4. การชะลอการตรวจสอบสัดส่วนหนี้

เราได้ออกแบบโครงสร้างในการใช้ money market บน smart contracts ให้มีความหลากหลาย การพัฒนานี้จะทำให้ผู้ใช้งานมีกรณีการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น, กำหนดค่าความเสี่ยงทางราคาใน positions ของตนเองได้, และกลยุทธ์การใช้งานขั้นสูง การอัพเดทครั้งนี้ไม่ใช่ส่วนที่เด่นมากใน smart contract แต่การตรวจสอบสัดส่วนหนี้นี้จะเพิ่มประสิทธิภาพให้ผู้ใช้งานอย่างมาก

มาดูวิธีการทำงานของมันกัน โดยปกติแล้วสัดส่วนหนี้ของแต่ละบัญชีจะถูกตรวจสอบทันทีหลังจากที่มีการทำธุรกรรมที่อาจล้มเหลวเนื่องจากสินทรัพย์ค้ำประกันที่ไม่เพียงพอซึ่งจะทำให้ธุรกรรมนั้นไม่เป็นผล การทำธุรกรรมเหล่านี้รวมไปถึงการกู้, การถอนสินทรัพย์ค้ำประกัน, หรือการปิด position

ในขณะเดียวกันสัญญาของ AF2.0 นั้นถูกเขียนในแบบที่ชะลอการตรวจสอบสัดส่วนหนี้ซึ่งจะทำให้สามารถทำธุรกรรมหลายอย่างก่อนที่จะเกิดการตรวจสอบสัดส่วนหนี้ในขั้นสุดท้ายได้

การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยนี้ทำให้บรรลุอะไรบ้าง? เรามาดูตัวอย่างเพื่อความเข้าใจที่มากขึ้นกัน

ถ้าไม่มีการชะลอการตรวจสอบสัดส่วนหนี้ ผู้ใช้งานจำเป็นต้องฝากสินทรัพย์ค้ำประกันก่อนที่เงินกู้จะถูกปล่อย ในทางตรงกันข้ามถ้าการตรวจสอบสัดส่วนหนี้ถูกชะลอ ผู้ใช้งานสามารถทำธุรกรรมหลายๆอย่างก่อนที่จะถูกตรวจสอบสัดส่วนหนี้ได้ เช่น พวกเขาสามารถกู้ ETH และขายมันเป็น USDC (short ETH) และใส่ USDC เป็นสินทรัพย์ค้ำประกันกลับเข้าไปใน Money Market เพื่อกู้ BTC แล้วฝากมันเข้าไปใน lending vault (long BTC) เพื่อรับผลตอบแทน (วิธีนี้จะเป็นการลดความเสี่ยงด้านราคาโดยการเดิมพันว่า ETH จะมีราคาลดลงเมื่อเทียบกับ BTC) ในตัวอย่างกลยุทธ์นี้ได้มีการใช้สินทรัพย์ทั้งหมดสามอย่าง แต่จริงๆแล้วสามารถใช้เท่าไหร่ก็ได้

หรือว่าพวกเขาสามารถใช้กลยุทธ์ในทางตรงข้ามกับวิธีข้างต้นก็ได้โดยการ กู้ BTC, ขายเป็น ETH (short BTC), และใช้ ETH เพื่อเปิด 3x LYF position แล้วรอรับผลตอบแทน (long ETH แบบใช้ leverage)

และวิธีการข้างต้นเป็นเพียงสองวิธีจากวิธีการใช้งานที่หลากหลายอีกมาก

โดยสรุปแล้วสิ่งนี้จะทำให้สามารถทำธุรกรรมที่มีความซับซ้อนบนสัญญา money market ในธุรกรรมเดียวได้ ซึ่งจะช่วยลดค่าแก๊ส, สร้าง UX ที่ดีขึ้น, และปลดล็อคกรณีการใช้งานอีกมากมายซึ่งที่เรายกตัวอย่างเป็นเพียงเศษเสี้ยวของความเป็นไปได้ทั้งหมดเท่านั้น

5. การกำหนดวิธีการบังคับชำระหนี้

AF2.0 ทำให้เราสามารถกำหนดวิธีการบังคับชำระหนี้ได้หลากหลายแบบสำหรับสินทรัพย์ค้ำประกันแต่ละอย่าง เริ่มแรกเลย เราได้เพิ่มระบบการบังคับชำระหนี้แบบสองชั้นซึ่งขึ้นอยู่กับสัดส่วนหนี้ (ความเสี่ยง) ของ positions สองชั้นนี้ได้แก่:

ชั้นที่ 1: การค่อยๆ repurchase ผ่าน Close Factor โดยที่มีเปอเซ็นต์ส่วนลดที่คงที่

การ Repurchase นั้นเป็นวิธีที่ทำให้การปิด positions มีราคาถูกกว่าการบังคับชำระหนี้แบบปกติซึ่งเราได้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพบน Automated Vaults ของเราอยู่แล้ว สำหรับ AF2.0 เราวางแผนไว้ว่าจะเพิ่มการ repurchase เข้าไปในชั้นที่ 1

การ Repurchase จะสร้างแรงจูงใจโดยการเสนอสินทรัพย์ค้ำประกันของผู้กู้ให้ repurchasers ซื้อโดยมีเปอเซ็นต์ส่วนลด เพื่อให้ repurchasers ให้ความสำคัญกับ positions ที่มีความเสี่ยงมากกว่า ส่วนลดนี้จะเริ่มที่ 5% และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนถึง 10% เมื่อสัดส่วนหนี้เพิ่มขึ้น

โปรดทราบไว้ว่า 80% ของมูลค่าหลังหักส่วนลดจะถูกนำไป buyback & burn โทเค็น ALPACA เพื่อที่จะให้แพลตฟอร์มมีความแข็งแรงในช่วงตลาดขาลง และเพราะว่ารายได้มากถึงครึ่งหนึ่งของโปรโตคอลที่จะถูกนำไปให้โทเค็น ALPACA ผ่านการกระทำของ governance นั้นเป็นมาตรการสำรองแผนประกันที่จะรับรองความปลอดภัยของ LYF positions

พารามิเตอร์ที่เรียกว่า "Close Factor" จะกำหนดเปอเซ็นต์ของหนี้ใน positions ที่ liquidator สามารถชำระคืนได้ในหนึ่งธุรกรรม นี่หมายความว่า positions แค่บางส่วนจะถูกบังคับชำระหนี้ เพียงพอที่จะทำให้ความเสี่ยงกลับมาปกติ ซึ่งเราเรียกสิ่งนี้ว่า Gentle Liquidation (การค่อยๆบังคับชำระหนี้) หรือในกรณีนี้อาจะเรียกได้ว่าการ Gentle Repurchase ซึ่งเป็นกระบวนการลดค่าใช้จ่ายในการบังคับชำระหนี้สำหรับผู้กู้

การ repurchase นี้เป็นเพียงแค่ชั้นแรกที่จะถูกใช้ถ้าจำเป็นต้องมีการบังคับชำระหนี้ เพราะว่าการ repurchase เป็นทางเลือกที่ถูกที่สุดสำหรับผู้ที่เปิด position แต่ถ้าชั้นนี้ไม่ถูกใช้งาน จะมีชั้นสำรองที่จะถูกนำมาใช้

ชั้นที่ 2: ขายบน DEXs

ถ้าสัดส่วนหนี้ของบัญชีเกินกว่า debt threshold ที่กำหนดไว้ (และยังไม่มี repurchaser เข้ามา) จะมีฟังก์ชั่นสำรองที่จะอนุญาติให้ใครก็ได้ขายสินทรัพย์ค้ำประกันบน DEX เพื่อชำระหนี้คืนบน DEX และรับส่วนแบ่งจากรายได้ วิธีนี้เป็นวิธีที่คล้ายกับการบังคับชำระหนี้ในปัจจุบัน เราจะแชร์พารามิเตอร์สำหรับวิธีเหล่านี้ในอนาคต

Last updated