บทที่ 1: กรณีการใช้งานเฉพาะของ Alpaca Finance - ชอร์ตเพื่อทำกำไร

สวัสดีเหล่าอัลปาก้าตัวน้อย และยินดีต้อนรับสู่ Alpaca Academy ที่นี่ เราจะสอนคุณเกี่ยวกับแนวคิด DeFi โดยเฉพาะแนวคิดที่นำไปใช้กับ Alpaca Finance ดังนั้น วันนี้จะเป็นบทเรียนแรกที่จะช่วยให้คุณสร้างผลกำไรสูงสุดโดยใช้โปรโทคอลของเรา ในขณะเดียวกันก็ปรับเปลี่ยน position ของคุณในแบบที่คุณไม่สามารถทำที่อื่นได้

บทเรียนนี้อาจใช้เวลานานเล็กน้อย แต่เราสัญญาว่ามันจะคุ้มค่า เพราะเราจะอธิบายถึงหลักการสำคัญที่ไม่เพียงแต่จะช่วยผู้เริ่มต้นเท่านั้นแต่ยังจะมีประโยชน์ต่อนักการเงินที่เชี่ยวชาญแล้วอีกด้วย

คุณเห็นไหมว่าตอนนี้เราได้เปิดตัวฟังก์ชั่นการทำฟาร์มด้วยเลเวอเรจ เราอยากจะเริ่มแบ่งปันกลยุทธ์ที่เราวางแผนกันในโรงนามาเป็นเวลานานแล้ว เริ่มต้นด้วยวิธีขั้นสูงในการใช้โปรโทคอลที่ตรงไปตรงมาแต่ทรงพลังของเรา

กล่าวโดยย่อ คุณสามารถสร้างกลยุทธ์เพื่อปรับระดับ exposure ที่มีต่อความเสี่ยงของสินทรัพย์ของคุณผ่านวิธีการง่ายๆ (เช่น การชอร์ตและการ hedge) และ Alpaca Finance ก็เป็นแพลตฟอร์มเดียวใน DeFi ที่อนุญาตให้คุณสามารถทำการฟาร์มไปพร้อมกับวิธีข้างต้น — ในขณะที่รับผลตอบแทน!

การชอร์ต (Shorting)

การซื้อและถือคือวิธีที่เทรดเดอร์มือใหม่โดยทั่วไปใช้มากที่สุด โดยพวกเขาจะถือสินทรัพย์ทิ้งไว้และทำกำไรจากการเพิ่มขึ้นของราคาและสูญเสียเงินทุนเมื่อราคาตกซึ่งจะตรงกันข้ามกับการชอร์ต

การชอร์ตคือการขายสินทรัพย์ล่วงหน้าก่อนที่จะได้มาโดยมีจุดประสงค์เพื่อทำกำไรเมื่อราคาตก โดยพื้นฐานแล้ว เมื่อคุณเชื่อว่าราคาของสินทรัพย์จะลดลง คุณสามารถยืมสินทรัพย์นั้นๆและขายมัน เมื่อสินทรัพย์ดังกล่าวราคาตก คุณสามารถซื้อสินทรัพย์นั้นใหม่เพื่อชำระคืนสินทรัพย์ที่กู้ยืมไป นี่คือ "การซื้อต่ำและขายสูง" ที่ผู้เชี่ยวชาญมักจะแนะนำ ซึ่งจะเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ต้องการจะทำในการซื้อขายทั่วไป เพียงแค่มีการสลับลำดับขั้นตอนที่กลับกันสำหรับการชอณ์ต แม้ว่าจะทำกำไรได้พอๆ กัน

(อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการชอร์ตได้ที่: https://www.investopedia.com/terms/s/shortselling.asp)

การชอร์ตเป็นเรื่องปกติในหมู่เทรดเดอร์และนักเก็งกำไร อย่างไรก็ตาม ในโลก DeFi และคริปโต โดยทั่วไปแล้ว ตัวเลือกสำหรับชอร์ตนั้นมีจำกัดและแพง

คุณสามารถทำการ Margin-Short ผ่านตลาดอนุพันธ์ (derivatives exchange) ได้แต่ทุก ๆ วินาทีที่คุณ short และราคาไม่ได้ลดลงตามเป้าหมายของคุณ คุณกำลังสูญเสียเงินเพราะคุณต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับผู้ให้กู้ที่ให้คุณยืมสินทรัพย์ที่คุณกำลังชอร์ต

แต่ที่ Alpaca เมื่อคุณยืมเงินจากเรา ไม่เพียงแต่คุณจะไม่สูญเสียเงินจากการดอกเบี้ยการกู้ยืม แต่คุณยังจะได้รับผลตอบแทนอีกด้วย! ทำไมหรอ? เพราะคุณกำลังใช้ทรัพย์สินที่ถือไว้เพื่อทำการฟาร์ม! ซึ่งผลตอบแทนมักจะสูงกว่าดอกเบี้ยการกู้ยืมแทบจะเสมอไป!

ที่จริงแล้ว เมื่อคุณยืมสินทรัพย์กับเราเพื่อการทำฟาร์มด้วยเลเวอเรจที่มีเลเวอเรจใดๆ ที่สูงกว่า 2 เท่า คุณกำลังชอร์ตสินทรัพย์ที่ยืมมาอยู่

นี่คือวิธีการทำงานของมัน เมื่อคุณเปิด position ที่มีเลเวอเรจ คุณกำลังยืมสินทรัพย์จากโปรโตคอลที่คุณจะต้องจ่ายคืนเมื่อคุณปิด position (เช่น BNB/BUSD/ETH) เนื่องจาก pool LP ของเราต้องสร้างสมดุลให้ทั้งสินทรัพย์ที่จับคู่กัน (เช่น ETH-BNB หรือ BNB-BUSD) ที่มีมูลค่าเท่ากันที่อัตราส่วน 50:50 แต่เมื่อระดับเลเวอเรจที่คุณเลือกสูงกว่า 2 เท่า คุณกำลังยืมสินทรัพย์มากกว่าหนึ่งมากกว่า 1 ประเภทเพื่อให้คุณสามารถเพิ่มสินทรัพย์เข้าไปยัง pool LP ได้ ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ว่าคุณจะเพิ่มสินทรัพย์คู่ใด

ซึ่งในกรณีดังกล่าว โปรโตคอลจะต้องแปลงส่วนหนึ่งของสินทรัพย์ที่ยืมนั้นเป็นอีกสินทรัพย์ที่จับคู่กัน ๆ เพื่อสร้างเหรียญLP ในอัตราส่วน 50:50 ไม่ว่าคุณจะฝากเหรียญสกุลใดก็ตาม ด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างง่ายๆ

(หมายเหตุ: ราคาในตัวอย่างต่อไปนี้เป็นราคาสินทรัพย์ในขณะที่เขียนบทความและอาจไม่สะท้อนราคาปัจจุบัน)

ตัวอย่างการชอร์ต (ฉบับย่อ)

  1. คุณต้องการทำฟาร์ม ETH-BNB ดังนั้นคุณจึงเพิ่ม 1 BNB ของคุณเป็นเงินต้น

  2. คุณเลือกเลเวอเรจ 3 เท่า ดังนั้นคุณจึงยืม 2 BNB

  3. ตอนนี้คุณกำลังถือ 3 BNB แต่เพื่อสร้าง position LP ของคุณ โปรโทคอลจำเป็นต้องแปลง 50% ของจำนวนนั้นเป็น ETH ดังนั้นโปรโตคอลจึงขาย 1.5 BNB (.5 * 3 BNB) และซื้อ ETH ตอนนี้คุณมี 1.5 BNB และ ETH มูลค่า 1.5 BNB และสามารถเปิด position LP ของคุณได้ในอัตราส่วน 50:50

  4. ในเวลาต่อมา เมื่อคุณปิด position ของคุณ แม้ว่าคุณจะถือเพียง 1.5 BNB คุณยังคงเป็นหนี้โปรโทคอล 2 BNB ดังนั้นโปรโทคอลจะต้องซื้อ .5 BNB โดยใช้ ETH ที่คุณถืออยู่ ทำให้คุณมียอดรวม 2 BNB สำหรับจ่ายคืนให้กับโปรโทคอล

โดยสรุป คุณเริ่มต้นด้วยการขาย BNB ที่ยืมมาบางส่วนเมื่อคุณเปิด position จากนั้นคุณต้องซื้อ BNB ในจำนวนเท่ากันเมื่อคุณปิดสถานะ ขายก่อนแล้วค่อยซื้อ… ฟังดูคุ้นๆ ไหม?

ใช่แล้ว! มันคือการชอร์ต!

หากราคาของ BNB ลดลงหลังจากที่คุณเปิด position ของคุณ (เมื่อคุณขาย BNB) นั่นหมายความว่าคุณซื้อ BNB คืนในราคาที่ถูกกว่า หรือที่เรียกว่าขายสูงและซื้อต่ำ กล่าวอีกนัยหนึ่ง คุณได้ทำกำไรจากชอร์ตครั้งนี้!

และขนาดของการชอร์ต BNB ของคุณก็คือจำนวน BNB ที่คุณซื้อในขั้นตอนที่ 4 ซึ่งในกรณีนี้: .5 BNB

เพื่อให้คุณเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น เรามาดูตัวอย่างเดียวกันอีกครั้งแต่ให้ละเอียดยิ่งขึ้น ความแตกต่างเพียงอย่างเดียวคือการใช้ ETH เป็นเงินต้นแทนที่จะเป็น BNB ซึ่งมันจะแสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนสินทรัพย์ที่ใช้เป็นเงินต้นไม่สร้างความแตกต่างในผลลัพธ์แต่อย่างใดเมื่อคุณใช้เลเวอเรจที่สูงกว่า 2 เท่า

ตัวอย่างการชอร์ต (ฉบับเต็ม)

  1. คุณต้องการจะฟาร์มด้วยเลเวอเรจบน pool ETH-BNB คุณจึงเปิด position ด้วย .166 ETH ซึ่งมีมูลค่า ~1 BNB

  2. คุณตั้งค่าระดับเลเวอเรจที่เป็น 3x

  3. เมื่อคุณคลิกอนุมัติและเปิด position โปรโทคอลจะให้คุณยืม 2 BNB (“สินทรัพย์ที่ยืม” ที่ด้านล่างของรูปภาพด้านบน) ซึ่งเท่ากับ 2x มูลค่าหลักของคุณของ ETH ด้วยวิธีนี้ ยอดรวมของคุณคือ 3x ของเงินต้นของคุณ (1 หน่วย (เงินต้น ETH) + 2 หน่วย (2x เงินต้น ETH ใน BNB) = 3 หน่วยหรือ 3x นี่คือความหมายของระดับเลเวอเรจ)

  4. ในการแปลงเหรียญของคุณให้เป็นเหรียญ LP เพื่อฟาร์ม pool ETH-BNB จะต้องเพิ่มเหรียญให้ทั้งสองคู่สกุลมีมูลค่าอยู่ในอัตราส่วน 50:50 ดังนั้น เนื่องจากคุณมี BNB มากกว่า ETH โปรโทคอลจะขาย BNB ที่ยืมมาบางส่วนเพื่อให้มูลค่าของทั้ง 2 สกุลเหรียญมีมูลค่าอยู่ในสัด่วนที่เท่ากัน ในตัวอย่างย่อก่อนหน้านี้ position ของคุณมีมูลค่ารวม 3 BNB โดย 1.5 ต้องอยู่ในรูปแบบเหรียญ BNB และ 1.5 ต้องอยู่ในรูปแบบเหรียญ ETH ในขณะนี้ เนื่องจากคุณถือ 2 BNB โปรโตคอลจะขาย .5 BNB ให้คุณเพื่อให้ได้อัตราส่วนที่เท่ากัน (นี่คือส่วนที่คุณต้องขายและเป็นการชอร์ตไปในตัว)

เมื่อถึงจุดนี้ โปรโทคอลจะสร้างเหรียญ LP ให้กับคุณ และเพิ่มลงใน pool ขอแสดงความยินดีด้วย! ตอนนี้คุณเปิด position การฟาร์มด้วยเลเวอเรจสำเร็จแล้ว และคุณกำลังชอร์ต BNB ที่ถูกขายเพื่อซื้อสินทรัพย์ที่เป็นคู่ (ETH ในกรณีนี้) ซึ่งในตัวอย่างนี้มีมูลค่าเท่ากับ .5 BNB

ตอนนี้ มาตรวจสอบรายละเอียดของ position ของคุณกัน ซึ่งส่วนใหญ่คุณจะพบได้บนแดชบอร์ด "Position ของคุณ" บนหน้าฟาร์ม

  • ตามที่ระบุไว้ก่อนหน้านี้ คุณมี position ที่มีมูลค่ารวมอยู่ที่ ~3 BNB

  • มูลค่าหนี้คือ ~2 BNB ซึ่งเป็นมูลค่าของสินทรัพย์ที่คุณยืม

  • มูลค่าสินทรัพย์ของคุณ คือ 1 BNB ซึ่งเป็นมูลค่าของ ETH ที่คุณฝาก

  • APY ปัจจุบันคือ APY สุทธิจาก position เลเวอเรจของคุณได้รับหลังจากหักดอกเบี้ยเงินกู้

  • อัตราส่วนหนี้สินคือมูลค่าหนี้ที่คุณมีเมื่อเทียบกับมูลค่าสินทรัพย์ของคุณในตัวอย่างนี้ เนื่องจากคุณยืมสินทรัพย์ที่มีมูลค่า 2 เท่าของเงินต้นของคุณ อัตราส่วนหนี้สินของคุณคือ 2/3 หรือ ~66.7%

  • Kill Factor (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น Kill Threshold) คือเกณฑ์อัตราส่วนหนี้สินที่ถ้าหากเกิน position ของคุณอาจจะถูกลิควิเดท (liquidate)

  • Safety Buffer คือบัฟเฟอร์ความปลอดภัยที่คุณมีจะถูกลิควิเดท มันคือ Kill Factor ของคุณลบด้วยอัตราส่วนหนี้สินของคุณ

ตอนนี้ เราลองมาดูสินทรัพย์ปัจจุบันของคุณที่มี exposure ต่อ ETH และ BNB (กล่าวอีกนัยหนึ่งคือคุณมี exposure ต่อการลอง (long) หรือ ชอร์ต (short) กับสินทรัพย์ดังกล่าวมากน้อยเพียงใด)

  • Position ของคุณประกอบด้วย ETH ครึ่งหนึ่งและ BNB ครึ่งหนึ่ง ดังนั้น เราจึงสามารถนำมูลค่าของ position ของคุณมาคำนวณเพื่อทำความเข้าใจมูลค่าของสัดส่วนส่วนเหล่านั้น เนื่องจากมูลค่า position ของคุณอยู่ที่ ~3 BNB คุณถือ 1.5 BNB และ ETH มูลค่า 1.5 BNB (~.249 ETH ซึ่งเป็นเงินต้น)

  • คุณกำลังลอง (long) .166 ETH เพราะคุณจะไม่ต้องจ่าย ETH คืนเหมือน BNB ดังนั้น การเคลื่อนไหวของราคาของ ETH จะส่งผลต่อมูลค่าสินทรัพย์ของคุณโดยตรง ในความเป็นจริง การลอง (long) แบบนี้คือสิ่งที่คุณทำเมื่อคุณฟาร์มโดยไม่มีเลเวอเรจ และเช่นเดียวกับการลอง (long) ในแบบอื่นๆ เมื่อราคาของ ETH เพิ่มขึ้น ETH ของคุณจะเพิ่มมูลค่าและสร้างกำไรให้กับคุณ ในทางกลับกันเมื่อราคา ETH ลดลง คุณก็จะเสียกำไรหรือขาดทุน เมื่อคุณปิด position ของคุณ คุณจะได้รับ ETH เป็นมูลค่า ณ เวลาปิด หากราคาของ ETH เมื่อคุณปิด position สูงกว่าราคาของ ETH ณ ตอนที่คุณเปิด แสดงว่าคุณได้กำไรจากการซื้อ ETH นี้

  • ในอีกครึ่งหนึ่งของ position LP ของคุณ คุณถือ 1.5 BNB อย่างไรก็ตาม คุณไม่ได้ลอง (long) 1.5 BNB เพราะคุณมีหนี้ 2 BNB จำไว้ว่า เมื่อคุณเปิด position คุณยืม 2 BNB และเมื่อคุณปิด position คุณจะต้องจ่าย 2 BNB นั้นคืน ถึงอย่างไรก็ตามคุณถือเพียง 1.5 BNB และนั่นหมายความว่าคุณกำลังชอร์ต BNB อยู่!

  • 1.5 BNB นั้นไม่ใช่การลอง (long) เพราะคุณจะต้องจ่ายหนี้คืนเป็น BNB ไม่ว่าราคาของ BNB จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงคุณก็ยังคงจะต้องคืน 1.5 BNB อย่างไรก็ตามอีก .5 BNB ที่คุณเป็นหนี้นั้นแตกต่างออกไป เมื่อคุณยืมและแลกเป็น ETH เพื่อให้คุณสามารถเปิด position LP ในอัตราส่วนที่เท่ากัน คุณได้ขาย .5 BNB ซึ่งคุณจะต้องซื้อคืนเมื่อคุณปิด position ดังนั้น ขณะที่ position ของคุณเปิดอยู่ คุณกำลังชอร์ต .5 BNB การเคลื่อนไหวของราคาของ BNB ส่งผลต่อคุณในลักษณะตรงกันข้ามกับที่ราคา ETH ส่งผลต่อมูลค่าของ ETH ของคุณ หากราคาของ BNB เมื่อคุณปิด position สูงกว่าราคาของ BNB เมื่อคุณเปิด position คุณจะเสียเงินจากการชอร์ต BNB นี้ นั่นเป็นเพราะว่าเวลาคุณชอร์ต คุณกำลังเดิมพันว่าราคาของสินทรัพย์จะลดลง! ขอย้ำอีกครั้งว่า เมื่อคุณปิด position ชอร์ตของคุณ คุณต้องการให้ราคาที่ปิดนั้นถูกกว่า เพราะมันจะทำให้คุณสามารถใช้เงินจำนวนน้อยกว่าชำระคืนเงินที่กู้ไปและเก็บส่วนต่างเป็นกำไร

โดยสรุป นี่คือ exposure ทั้งหมดของคุณใน position ETH-BNB ของคุณ:

Long .249 ETH (มูลค่าประมาณ 1.5 BNB)

Short .5 BNB

ตอนนี้ มาเปรียบเทียบ exposure ทั้งหมดใน position ETH-BNB หากคุณนำ 3 BNB มาเป็นเงินต้นโดยไม่ต้องใช้เลเวอเรจ (ดังนั้น คุณฝาก .249 ETH และ 1.5 BNB ที่ 1x):

Long .249 ETH (มูลค่าประมาณ 1.5 BNB)

Long 1.5 BNB

สังเกตความแตกต่างของ exposure ของตัวอย่างด้านบน มูลค่า position เท่ากัน แต่แทนที่จะ long BNB คุณชอร์ตมันเพราะว่าคุณกู้มันมาทำเลเวอเรจ

ดังนั้น หากคุณไม่เคยรู้มาก่อน ตอนนี้ คุณรู้วิธีชอร์ตแล้ว! ตรบมือให้ตัวเองหน่อย อัลปาก้าน้อย! เพราะการชอร์ตจะเปิดโอกาสใหม่ๆ ให้คุณทำกำไรได้อีกมากมาย!

As I’m sure you’ve seen, prices move up and down. Yet, if you’re only able to long, then you can only gain equity when they move up. With shorting, you can now place bets and profit when prices move down!

ฉันแน่ใจว่าคุณเคยเห็นราคาขยับขึ้นและลง อย่างไรก็ตาม หากคุณทำได้แค่ Long คุณก็จะทำกำไรได้แค่เมื่อราคาเพิ่มขึ้น แต่ด้วยการชอร์ต คุณสามารถทำกำไรได้เมื่อราคาลดลง!

อย่างที่คุณเห็น Alpaca ไม่เหมือนแพลตฟอร์มอื่นๆเพราะคุณจะไม่ถูกบังคับให้ต้อง long อย่างเดียวเมือคุณทำยีลด์ฟาร์มมิ่ง ท้ายที่สุดแล้วหากคุณคิดว่าราคา BNB กำลังอยู่ในขาลง คุณจะไม่อยาก short BNB มากกว่าที่จะ long มันหรือ?

ลองคิดย้อนกลับไป คุณเคยไหมที่มีประสบการณ์การฟาร์มหรือเพิ่มสภาพคล่องโดยที่ผลตอบแทนดีมากแต่สินทรัพย์ที่ใช้ในการฟาร์มของคุณกลับมีมูลค่าลดลงทำให้คุณขาดทุนในตอนท้าย? ด้วย Alpaca คุณจะไม่ต้องประสบเหตุการณ์เช่นนั้นอีกต่อไป!

นี่คือพลังของการชอร์ต การมีทางเลือก! และมันให้พลังแก่คุณในทุกสภาวะตลาด! ตัวอย่างเช่น ลองนึกถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นหากตลาดกลายเป็นตลาดหมี (โอเค การแกว่งไปมาของตลาดระหว่างรอบขาลง (Bear) และขาขึ้น (Bull) เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เรา Alpacas มองโลกในแง่ดี!) ในตลาดหมี การทำเงินจากการขุดบนแพลตฟอร์มอื่นเป็นเรื่องยาก เนื่องจากสินทรัพย์ที่ทำฟาร์มมีมูลค่าลดลงเรื่อยๆ อย่างไรก็ตามที่ Alpaca จะไม่เป็นอย่างนั้น! กับเรา คุณจะสามารถทำฟาร์มต่อไปได้ในและทำการชอร์ตเมื่อตลาดอยู่ขาลง! เดิมพันไปกับตลาดหมีแทนที่จะโดนมันถล่ม! กล่าวอีกนัยหนึ่งคุณจะสามารถทำฟาร์มได้ไม่เพียงแค่ในฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนเท่านั้น แต่ในทุกฤดูกาล!

มันคงจะดีไม่น้อยเลยใช่ไหมหากเราสามารถทำแบบนี้ได้ในปี 2018-2020? เราคิดอย่างนั้นเหมือนกัน 😆

คุณอาจมีข้อสงสัยเล็กน้อย:

ฉันชอร์ตได้แล้วก็ดีนะ แต่ตอนนี้มันก็ทำได้กับแค่ BNB และ ETH เท่านั้นเหรอ ท้ายที่สุด ทั้งสองนี้เป็นสินทรัพย์ non-pegged อย่างเดียวที่ฉันสามารถยืมได้

นั่นอาจเป็นจริงในตอนนี้ แต่เราวางแผนที่จะเพิ่ม pool เงินกู้สำหรับสินทรัพย์พื้นฐานเพิ่มเติม: BTCB, ALPACA และอื่นๆ คุณจะสามารถชอร์ตสินทรัพย์เหล่านี้ได้ทั้งหมด! ในอนาคต เมื่อมีการใช้ธรรมาภิบาล (governance) แล้ว ผู้ใช้จะสามารถลงคะแนนเพื่อเพิ่มสินทรัพย์อื่นได้เช่นกัน

ในบันทึกอื่น สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งที่คุณอาจไม่รู้ก็คือการยืม BUSD เท่ากับการชอร์ตเพื่อทำกำไรจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไป!

ทำไมคนจำนวนมากถึง bullish เกี่ยวกับ crypto? อันที่จริง มีเหตุผลมากมาย แต่แม้ในหมู่สถาบัน หนึ่งในเหตุผลหลักไม่ใช่เพราะว่าพวกเขอ bearish กับเงินตรา (fiat) หรอกหรือ?

ถ้าพวกเขาจ้องการจะจัดการเงินทุนของพวกเขาให้สอดคล้องกับความเชื่อ พวกเขาจะไม่แสวงหาผลกำไรจากการชอร์ตเงินตรา (fiat) หรือ? พวกเขาสามารถทำได้อย่างง่ายดายกับ Alpaca!

โอเค ฉันเข้าใจแล้ว ฉันสามารถชอร์ตบนแพลตฟอร์มของ Alpaca ได้ แล้วยังไงต่อ? การชอร์ตไม่ใช่สิ่งใหม่ ฉันสามารถชอร์ตผ่านเปลี่ยนอนุพันธ์ (derivatives exchange) ด้วยมาร์จิ้น หรือโดยการกู้ยืมเงินในสินทรัพย์จากแพลตฟอร์มการให้ยืม เหตุใดฉันจึงไม่ใช้สิ่งเหล่านั้น?

ว้าว คุณเข้าใจตลาดจริงๆ แต่ลองถามตัวเองว่า เมื่อคุณชอร์ตโดยใช้แพลตฟอร์มเหล่านั้น — คุณไม่เสียเงินเหรอ?

กล่าวอีกนัยหนึ่ง การ short กับตัวเลือกอื่นๆ ในตลาด — เริ่มต้นด้วยการขาดทุนเสมอ!

หากคุณเปิดมาร์จิ้นชอร์ตที่ตลาดอนุพันธ์ (derivatives exchange) คุณจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการยืมทุกนาทีที่คุณเปิดชอร์ต การชอร์ตแบบนั้นต้องเสียเงินและแสนแพง คุณแค่เดิมพันว่าราคาจะลดลงมากพอที่จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายนั้น อย่างไรก็ตาม ในโปรโทคอลของเรา คุณสามารถเดิมพันแบบเดียวกันและทำกำไร! เพราะในขณะที่ชอร์ตของคุณเปิดอยู่ แทนที่จะปล่อยให้เงินไหลไปเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ คุณกำลังเก็บเกี่ยวผลตอบแทนจากการฟาร์ม! กล่าวคือการ short กับ Alpaca — คุณเริ่มต้นที่กำไรเสมอ!

ลองคิดดูสักครู่ เพราะ Alpaca Finance เป็นที่เดียวที่คุณสามารถชอร์ตสินทรัพย์หลายรายการในขณะที่รับผลตอบแทนด้วยวิธีง่ายๆ

นั่นเป็นความจริง ไม่เพียงแต่สำหรับ BNB Chain...

ไม่เพียงแต่สำหรับ DeFi…

ไม่เพียงแต่สำหรับคริปโต

แต่เป็นความจริงในวงการด้านการเงินแบบดั้งเดิมทั้งหมด!

(Note: the closest type of trade setup to shorting while earning yields is where you would long the underlying spot asset such as BTC, then take a short position on BTC with a derivative like a futures contract to create a neutral hedge. From there, you’d attempt to collect the funding rate on the short if most other traders were going long. However, this setup requires specific market conditions, is not stable as the funding rate can flip at any time, has very small APYs relative to farming, and is not simple to set up at all)

(หมายเหตุ: ประเภทการตั้งค่าการค้าที่ใกล้เคียงที่สุดกับการชอร์ตในขณะที่รับผลตอบแทนคือที่คุณจะซื้อสินทรัพย์พื้นฐานเช่น BTC จากนั้นทำการชอร์ต BTC ด้วยอนุพันธ์เช่นสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (futures) เพื่อสร้างการป้องกันความเสี่ยงที่เป็นกลาง จากที่นั่น คุณจะต้องพยายามรวบรวมอัตราเงินทุนในชอร์ตหากเทรดเดอร์รายอื่น ๆ ส่วนใหญ่เปิดสถานะ Long อย่างไรก็ตาม การตั้งค่านี้ต้องการสภาวะตลาดที่เฉพาะเจาะจง ไม่คงที่ เนื่องจากอัตราการระดมทุนสามารถพลิกกลับได้ตลอดเวลา มี APY ที่น้อยมากเมื่อเทียบกับการทำฟาร์ม และตั้งค่าได้ไม่ง่ายเลย)

ทั้งหมดนี้เป็นไปได้ที่ Alpaca เพราะการชอร์ตของเราเชื่อมต่อกับการทำฟาร์มแบบมีเลเวอเรจ โดยคุณจะได้รับค่าธรรมเนียมจากการทำหน้าที่เป็น AMM ซึ่งมันจะครอบคลุมไม่เพียงแต่ดอกเบี้ยเงินกู้ที่เกี่ยวข้องกับการชอร์ตเท่านั้น แต่ยังเพิ่มผลตอบแทนที่สูงให้กับคุณอีกด้วย!

ทว่านั่นไม่ใช่คุณค่าเชิงกลยุทธ์เพียงอย่างเดียวของ Alpaca Finance เราจะสามารถเห็นข้อได้เปรียบเพิ่มเติมโดยการลองดูคู่แข่งประเภทอื่นภายในโลกของ DeFi — โปรโทคอลการกู้ยืม (Lending Protocol)

มีโปรโทคอลการกู้ยืมบน DeFi ที่คุณสามารถฝากหลักประกันและยืมสินทรัพย์ได้ หากคุณขายสินทรัพย์เหล่านี้เมื่อคุณได้รับมัน คุณจะสามารถชอร์ตมันได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้มักมาพร้อมกับดอกเบี้ยเงินกู้ และแม้ว่าดอกเบี้ยนั้นจะเป็น 0% แต่ก็ยังมีต้นทุนอีกอย่างที่สูงในการใช้โปรโตคอลการให้กู้ยืม นั่นคือต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) นั่นเป็นเพราะโปรโตคอลการให้กู้ยืมทั้งหมดในตลาด - อนุญาตเฉพาะการกู้ที่มีหลักประกันมูลค่าสูงกว่ามูลค่าเงินกู้!

นั่นหมายความว่าอย่างไร? ถ้าคุณฝากคริปโตมูลค่า 1 BNB ลงในโปรโตคอลเหล่านี้ พวกเขาจะไม่มีวันให้คุณยืมอีก 1 BNB มูลค่าที่พวกเขามักจะให้คือ .5 BNB ดังนั้นแม้ว่าดอกเบี้ยเงินกู้ของพวกเขาจะเป็น 0% และคุณชอร์ตด้วยมูลค่าหลักประกันของคุณ 50% จากนั้นทำฟาร์มกับอีก 50% 50%ของหลักประกันที่เหลือมันกลับนั่งเฉยๆและไม่ทำให้คุณมีกำไรเพิ่ม!

อย่างมากที่สุด โปรโตคอลบางตัวอาจมี APY ที่ต่ำมาก ต่ำกว่าหรือประมาณ 10% ซึ่งห่างไกลจากผลตอบแทนที่คุณสามารถได้รับจากการฟาร์ม ในด้านการเงิน เงินที่คุณไม่สามารถสร้างได้ก็เหมือนกับเงินที่เสียไป นี่คือค่าเสียโอกาสจากการกู้ที่ต้องมีหลักประกันสูงกว่ามูลค่าเงินกู้ แทนที่จะทำการกู้ที่มีหลักประกันสูง (overcollateralized loan) และทำการชอร์ตและรอราคาลดลง คุณสามารถฟาร์มด้วยมูลค่าสองเท่าของเงินต้นนั้นได้ทำให้ได้ผลตอบแทนสูงเป็นสองเท่า นี่คือการสูญเสียครั้งใหญ่เลยนะ! แล้ว Alpaca ล่ะ?

แพลตฟอร์มของเราไม่เพียงแต่ไม่ได้บังคับให้คุณกู้เงินแบบที่ต้องมีหลักประกันสูงกว่ามูลค่าเงินกู้ (overcollateralized loan) แต่ยังเสนอเงินกู้แบบหลักประกันต่ำ (undercollateralized loan) ให้คุณอีกด้วย! แทนที่จะให้คุณกู้เพียง 50% ของหลักประกันของคุณเช่นเดียวกับตัวเลือกอื่น ๆ ฟาร์มของสินทรัพย์บางคู่ของเราให้คุณใช้เลเวอเรจสูงถึง 6x ซึ่งหมายความว่าคุณจะสามารถฟาร์มด้วยมูลค่า 600% ของมูลค่าหลักประกันของคุณ!

ผลก็คือ การชอร์ตของคุณจะใหญ่ขึ้น และเงินต้นของคุณสำหรับการทำฟาร์มจะใหญ่เป็น 12 เท่าเมื่อเทียบกับโปรโตคอลการกู้ยืมที่จะให้คุณกู้เพียง 50% ของทูลค่าสินทรัพย์คํ้าประกันเท่านั้น! คุณจะได้ผลตอบแทน 12 เท่า!

โดยสรุป ภายในโลกการเงินทั้งหมด Alpaca Finance เป็นแพลตฟอร์มเดียวที่ทำให้ง่ายต่อการทำกำไรในหนึ่งในสองทิศทางการเทรดที่เป็นไปได้ (การชอร์ต)

นอกจากนี้ เราเป็นหนึ่งในไม่กี่แห่งในโลกคริปโตทั้งหมดที่ให้บริการสินเชื่อที่มีหลักประกันตํ่า (undercollateralized loan) และอนุญาตให้คุณเพิ่มระดับเลเวอเรจให้สูงสุดๆ

ทั้งหมดนี้มีความหมายอย่างไรสำหรับอนาคตของ Alpaca Finance? เราให้คุณเป็นคนตัดสินละกัน 😎

พวกเราอัลปาก้ารุ่นพี่ หวังว่าบทเรียนนี้จะเป็นประโยชน์ ถึงกระนั้น เราทราบดีว่าบางท่านอาจไม่สนใจการช็อต หรืออาจพบว่าการชอร์ตซับซ้อนเกินไป ในบทต่อไป เราจะโชว์ให้คุณเห็นว่าคุณยังคงฟาร์มด้วยเลเวอเรจที่สูงได้อย่างไรในขณะที่คุณไม่จำเป็นต้องชอร์ต ตลอดจนสอนคุณเกี่ยวกับแนวคิดในการทำให้สินทรัพย์เป็นกลาง (ไม่ long ไม่ short) หรือที่เรียกว่าการ Hedging

เราจะสอนคุณว่าการ hedging นั้นทรงพลังมีเพียงใด มันจะช่วยให้คุณเปิด position การฟาร์มโดยที่คุณไม่ต้อง short หรือ long เพื่อให้คุณไม่ต้องกังวลว่าราคาสินทรัพย์จะขึ้นหรือลง และเช่นเดียวกับการ short ที่กำไร — Alpaca เป็นที่เดียวที่คุณสามารถฟาร์มในขณะที่ทำการ hedging ได้!

ใช่ เราภูมิใจอย่างยิ่งกับฟาร์มแห่งนี้ของเรา ดังนั้นสำหรับคุณอัลปากาตัวน้อยที่เพิ่งเข้าร่วมฝูง เรารู้ว่ามันอาจจะดูน่ากลัวในตอนแรก แต่จงอยู่กับเราแล้วคุณจะแข็งแกร่งกว่าลามะในไม่ช้า

(หมายเหตุ เนื่องจากสินทรัพย์ถูกใช้เพื่อฟาร์มบน AMM ด้วยเหรียญ LP การปรับสมดุลสินทรัพย์จะเกิดขึ้น ซึ่งหมายความว่าการชอร์ตและการ hedgeในลักษณะนี้ไม่เหมือนกับในโปรโตคอลอื่น ถ้าให้กล่าวอย่างเจาะจง exposure ของสินทรัพย์จะเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยด้วยการเคลื่อนไหวของราคาเนื่องจาก AMM จะปรับยอดคงเหลือของสินทรัพย์ให้สมดุลกัน นี่คือสิ่งที่เราจะกล่าวถึงในบทความถัดไป)

Last updated