บทที่ 3 - ความเสี่ยงการโดนบังคับชำระหนี้ใน Leveraged Yield Farming
Last updated
Last updated
วันนี้เราจะมาดูเรื่อง liquidation หรือการบังคับชำระหนี้ และอธิบายคอนเซปให้เข้าใจง่ายขึ้น ก่อนอื่นขออธิบายคำศัพท์ที่เราจะใช้ในเนื้อหาต่อไป:
- ปริมาณหนี้ (Debt Value) เป็นมูลค่าของเหรียญที่ยืมมา - มูลค่าของ position (Position Value) เป็นมูลค่ารวมของ farming position ซึ่งก็คือจำนวน collateral + สินทรัพย์ที่ยืมมา + มูลค่าของเหรียญ LP tokens - สัดส่วนหนี่ (Debt Ratio) คือปริมาณหนี้หารกับมูลค่า position - มูลค่า equity (Equity Value) คือมูลค่า position ลบกับมูลค่าหนี้ Debt Value (จำนวนมูลค่าทั้งหมดจะแสดงผลเป็นจำนวนเหรียญที่กู้ยืมมา)
ในฐานะอัลปาก้ารุ่นพี่ เรามีหน้าที่ต้องสอนรุ่นน้องเกี่ยวกับความเสี่ยงต่างๆในฟาร์ม ซึ่งความเสี่ยงที่พบได้บ่อยที่สุดคือความเสี่ยงจากการถูกลิควิเดท แล้วความเสี่ยงนี้คืออะไร?
เมื่อคุณเปิด position ที่มีเลเวอเรจได้มากถึง 6 เท่าของเงินที่คุณนำมาฟาร์ม โปรโทคอลจำเป็นต้องทำให้แน่ใจว่าคุณจะสามารถชำระคืนเงินกู้นั้นได้ ดังนั้นจำนวนเงินที่คุณเพิ่มจากเงินทุนของคุณจึงทำหน้าที่เป็นหลักประกัน ซึ่งจะเพิ่มขึ้นเมื่อคุณสะสมผลตอบแทน (ลบด้วยดอกเบี้ยเงินกู้)
มูลค่าของหลักประกันนั้นจะต้องสูงกว่าจำนวนเงินที่คุณเป็นหนี้ (และเพิ่มตัวเลขเผื่อเข้าไป เพื่อลดความเสี่ยงจากราคาที่เหวี่ยงขึ้นลง) มิฉะนั้นโปรโทคอลอาจปิด position ของคุณเพื่อชำระคืนให้กับผู้ให้กู้หรือที่เรียกว่า ลิควิเดชั่น (liquidation) คุณอยากหลีกเลี่ยงการถูก liquidate เงินมูลค่า 5% ของเงินใน position จะถูกจ่ายให้กับบอทที่ทำหน้าที่บังคับชำระหนี้และนำเงินส่วนที่เหลือไปคืนให้กับผู้ปล่อยกู้
ขอเสริมอีกว่า ลิควิเดชั่นเป็นความเสี่ยงแค่ในบางช่วงเวลาเท่านั้น ส่วนใหญ่คุณจะไม่ต้องกังวลกับการลิควิเดทหลังจากเปิด position เสร็จใหม่ๆ
ถ้าอย่างนั้นคุณต้องระวังมันตอนไหนบ้าง? เนื่องจากคุณฝากโทเค็นคริปโต มูลค่าหลักประกันของคุณจึงมีความผันผวน และเปลี่ยนแปลงได้เมื่อราคาโทเค็นเคลื่อนไหว ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อคุณยืมเงิน คุณก็เหมือนกำลังถือเงินที่คุณนำไปคํ้าประกันไว้และรับผลกำไร (และขาดทุน) ที่อาจเกิดขึ้นจากสินทรัพย์เหล่านั้นในขณะที่ position ของคุณยังคงเปิดอยู่
ตอนนี้ คำศัพท์สำคัญที่เกี่ยวกับหลักประกันของคุณคือมูลค่าสินทรัพย์ (equity value) ซึ่งก็คือมูลค่าสินทรัพย์ที่ต้องมีมากกว่าเกณฑ์เพื่อเลี่ยงการถูกลิควิเดท ถ้าให้เจาะจงคือ เมื่อไหร่ที่อัตราส่วนหนี้สินของคุณเกินเกณฑ์ที่เรียกว่าเกณฑ์การชำระบัญชี (liquidation threshold) position ของคุณอาจถูก liquidate โดย liquidation bot ซึ่งหมายความว่าบอทจะปิด position ของคุณ ชำระหนี้ และคืนจำนวนเงินที่เหลือให้กับคุณ (ในรูปแบบโทเค็นที่ยืมไป)
ทำไมคุณถึงถูก liquidate ที่เกณฑ์การชำระบัญชี? เพราะนั่นคือเมื่อหลักประกันของคุณ (มูลค่าสินทรัพย์ของคุณ หรือ equity value) ลดต่ำพอที่หากมูลค่ายังคงลดลงเรื่อยๆ อาจมีความเสี่ยงที่คุณจะไม่สามารถชำระคืนเงินกู้ของคุณได้ ดังนั้นการ liquidate จึงจำเป็นเพื่อปกป้องผู้ให้กู้และมันเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ให้กู้มีความมั่นใจในการให้ยืมทรัพย์สินของพวกเขาตั้งแต่แรก เพื่อให้คุณสามารถทำฟาร์มได้อย่างมีกำไร
นั่นคือภาพรวมทั่วไปของ liquidation อย่างไรก็ตาม ในฐานะ leveraged yield farmer และนักลงทุน เรามักกังวลเกี่ยวกับราคาเป็นส่วนใหญ่ เรามาลองดูหัวข้อต่อไปซึ่งก็คือความคาบเกียวของราคาสินทรัพย์และการ liquidation
เราได้คำนวณตัวเลขเหล่านี้และสามารถบอกคุณได้! สมมติว่าคุณเปิด position ด้วย TOKEN1-TOKEN2 และยืม TOKEN2 ที่เลเวอเรจ 2x, 2.5x หรือ 3x อัตราส่วนหนี้สินเริ่มต้นของคุณจะอยู่ที่ 50%, 60% และ 66.7% ตามลำดับ เพื่อให้เกิดการ liquidate ราคาของ TOKEN1 เทียบกับ TOKEN2 (TOKEN1/TOKEN2) จะต้องลดลง 61%, 44% และ 31% ตามลำดับ โดยสมมติว่ามีเกณฑ์การชำระบัญชี (liquidation threshold) ที่ 80% (ตารางที่ 1)
นั่นทำให้เข้าใจง่ายขึ้นมากใช่มั้ย? เมื่อโทเค็นที่คุณถือครองมูลค่าลดลงอย่างมาก หลักประกันของคุณมีมูลค่าลดลง และคุณต้องระมัดระวัง liquidation ที่อาจเกิดขึ้น
(หากต้องการดูตัวเลขเหล่านี้ด้วยระดับเลเวอเรจและเกณฑ์การชำระบัญชีอื่นๆ ให้ดาวน์โหลดเครื่องคำนวณผลตอบแทน ของเรา และไปที่ sheet "LP Farming Liquidation" และลองใส่ข้อมูลที่คุณต้องการ)
หลังจากเปิด position ราคาสามารถเคลื่อนไหวและอัตราส่วนหนี้สินของคุณจะเปลี่ยนไป เพียงค้นหาอัตราส่วนหนี้สินใหม่ของคุณในกราฟด้านล่างเพื่อดูว่า (TOKEN1/TOKEN2) จำเป็นต้องลดลงเท่าใดก่อนที่จะถูก liquidate นอกจากนี้เรายังให้ตัวเลขเหล่านี้ให้กับคุณหากคุณวางเมาส์ไว้เหนือแถบสีเขียวที่เรียกว่า "เซฟตี้บัฟเฟอร์" ในส่วน "position ของคุณ" เพื่อให้คุณสามารถติดตามความเสี่ยงจากการถูก liquidate ได้แบบเรียลไทม์
สำหรับการทำ leveraged yield farming ด้วยสินทรัพย์เดี่ยว (single-asset) liquidation ก็อาจเกิดขึ้นได้เช่นกัน สมมติว่าคุณเปิดฟาร์มสินทรัพย์เดียว (single-asset farm) ของ CAKE และยืม Token2 ที่ 1.5x, 2x และ 2.5x เลเวอเรจ เพื่อให้เกิดการ liquidate ราคาของ CAKE เทียบกับโทเค็นที่คุณยืม (CAKE/Token2) จะต้องลดลง 58%, 38% และ 25% ตามลำดับ (ดูตารางและกราฟด้านล่าง)
(สำหรับระดับเลเวอเรจอื่นๆ และเกณฑ์การชำระบัญชี (liquidation threshold) คณุสามารถใช้เครื่องคำนวณของเรา โดยไปที่ sheet “Single-asset Farming Liquidation”)
อลิซเปิด position สำหรับการฟาร์มด้วยเลเวอเรจ 3x บนพูล BNB-BUSD
เธอนำ 10 BNB ของเธอมาฟาร์ม (มูลค่า 3000 BUSD) ซึ่งก็คือมูลค่าสินทรัพย์ของเธอ (equity value)
เธอยืมเงิน 6000 BUSD (3x ของที่เธอนำมา)
จากนั้นโปรโทคอลจะแปลงโทเค็นที่ฝากและยืมทั้งหมดเป็นสัดส่วน 50:50 สำหรับการสร้างโทเค็น LP สำหรับการทำฟาร์ม: 15 BNB + 4500 BUSD หรือมูลค่า 30 BNB ซึ่งก็คือมูลค่า position ของเธอ (ในความเป็นจริง มันจะต่ำกว่าเล็กน้อยเนื่องจากจะมีผลกระทบของราคา (price impact) และค่าธรรมเนียมการซื้อขาย exposure ของ Alice คือ long 15 BNB)
อัตราส่วนหนี้สินของอลิซ (หนี้ / มูลค่า position) คือ ~66% (10 BNB / 30 BNB)
หากถึงจุดที่ ราคา BNB ลดลง > 36% (คำนวณโดยใช้เครื่องคำนวณผลตอบแทน) อัตราส่วนหนี้สินของอลิซจะเกิน 83.3% (ซึ่งก็คือเกณฑ์การชำระบัญชี (liquidation threshold) สำหรับคู่ BNB-BUSD) liquidation bot จะคอล smart contract เพื่อปิด position ชำระคืนเงินกู้ และคืนทรัพย์สินที่เหลือไปยังกระเป๋าเงินของเธอ
โปรดทราบว่าตัวอย่างนี้ไม่ได้คำนึงผลตอบแทนที่ได้รับจากการทำ Yield Farmingและค่าธรรมเนียมการซื้อขาย ซึ่งจะเพิ่มมูลค่าให้กับ position ของอลิซและทำให้ position ของเธอปลอดภัยจากการถูกลิควิเดท (liquidate) ยิ่งขึ้น นอกจากนี้ตัวอย่างที่ยกมาไม่ได้คำนึงถึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่จะเพิ่มมูลค่าหนี้สินใน position ทำให้อัตราส่วนหนี้สินของเธอสูงขึ้น
และนั่นก็เป็นภาพคร่าวๆของการทำงานของระบบบังคับชำระหนี้ ต่อมาคือจะหลีกเลี่ยงการโดนบังคับชำระหนี้ยังไง
ต่อไปนี้คือสิ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อหลีกเลี่ยงการถูก liquidate
หมั่นตรวจสอบเซฟตี้บัฟเฟอร์ของคุณ: บัฟเฟอร์ความปลอดภัยในแดชบอร์ดตำแหน่งของคุณจะบอกคุณว่าคุณเข้าใกล้การถูก liquidate มากแค่ไหน เมื่อถึงศูนย์ position ของคุณจะถูก liquidate คุณยังสามารถเลื่อนดูเพื่อดูว่าราคาของสินทรัพย์หลักของคุณต้องลดราคาเท่าใดเพื่อให้เซฟตี้บัฟเฟอร์ของคุณเหลือศูนย์
เพิ่มหลักประกัน: หากคุณเห็นเซฟตี้บัฟเฟอร์ลดลง คุณสามารถเลือกเพิ่มหลักประกัน ซึ่งเป็นปุ่มทางด้านขวาของ position ที่เปิดอยู่ เพื่อเพิ่มเซฟตี้บัฟเฟอร์และหลีกเลี่ยงการถูก liquidate
ฟาร์มสินทรัพย์ที่มีความผันผวนตํ่า: หากคุณกำลังทำฟาร์ม stablecoin การถูก liquidate ไม่น่าเป็นไปได้อย่างยิ่ง ยิ่งไปกว่านั้น การทำฟาร์มด้วยสินทรัพย์ที่มี market cap สูงที่และมีความผันผวนน้อยกว่า เช่น BTCB จะมีความปลอดภัยกว่าโทเค็นใหม่ที่มีมูลค่าต่ำ แน่นอนสิ่งที่คุณต้องแลกคือ APY ที่ตํ่ากว่า