บทที่ 5 - ความจริงเกี่ยวกับ Impermanent Loss และสิ่งที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิด

Impermanent Loss…คำพูดที่ฟังดูน่ากลัว... คุณอาจจะเคยได้ยินมันมา หรือว่าอ่านเจอในบทความต่างๆ แต่คุณเข้าใจมันจริงๆหรือยัง? ในบทความนี้ เราจะให้ความรู้ในเรื่องนี้ที่ตามหลอกหลอนผู้ฟาร์มมาโดยตลอด

📉 Impermanent Loss คืออะไร?

Impermanent loss(IL) เกิดขึ้นจากการปรับสมดุลของทรัพย์สินโดย Automated Market Maker(AMM) ในขณะที่ราคาของทรัพย์สินใน LP position ขยับออกห่างจากจุดเริ่มต้น IL คือการสูญหายของทรัพย์สินหนึ่งใน LP เมื่อเทียบกับการถือทรัพย์สินดังกล่าวเฉยๆ

ถ้าหากยังคงไม่เข้าใจ? ไม่ต้องกังวล เราจะมีการให้ตัวอย่างง่ายๆ เพื่อทำให้คุณเข้าใจมากขึ้น

สมมุติว่าอลิซมี 10 BNB และ 3,200 BUSD และตัดสินใจ provide liquidity ใน BNB-BUSD LP pool เพื่อให้ง่ายต่อการคำนวณ เราจะสมมุติว่า 1 BNB = 320 BUSD ดังนั้นทรัพย์สินของเธอจะมีอัตราส่วนเป็น 50:50 พอดี

t= 0 (time period = 0, เวลาเริ่มต้น)

ทรัพย์สินของ Alice มีมูลค่า = 10 BNB + 3,200 BUSD = 6,400 BUSD

เวลาผ่านไป และราคาของ BNB ขยับขึ้น 25% เป็น 1 BNB = 400 BUSD เนื่องจากทรัพย์สินของอลิซอยู่ใน LP pool ในขณะที่ราคามีการเคลื่อนไหว มันเลยถูกปรับสมดุลเพื่อรักษาอัตราส่วน 50:50 ของ BNB:BUSD ดังนั้น ทรัพย์สินของอลิซใน pool จะมีค่าเป็น:

Farming in LP

t=1

ทรัพย์สินของ Alice มีมูลค่า = 8.94 BNB + 3,577.71 BUSD = 7,155.42 BUSD

(8.94 * 400 = 3,577.71 * 1)

โดยรวมแล้ว อลิซได้ทำกำไรเป็นมูลค่า 7,155.42 — 6,400 BUSD = 755.42 BUSD

ยังไงก็ได้กำไร แล้วทำไมผู้คนต่างบ่นเกี่ยวกับ Impermanent Loss? ตรงไหนกันแน่ที่เราเสียไป? เราลองเทียบกับการที่อลิซไม่ได้ provide liquidity ไปใย LP pool แต่แค่ทำการถือครองทรัพย์สินเอาไว้เฉยๆตั้งแต่ t=0 ถึง t=1.

Held in Wallet

t=1

ทรัพย์สินของ Alice มีมูลค่า = 10 BNB + 3,200 BUSD = 7,200 BUSD worth

ดังนั้นการที่ทรัพย์สินของอลิซอยู่ใน LP position ทำให้อลิซสูญเสีย 44.58 BUSD ซึ่งมีค่าน้อยกว่าการที่อลิซถือทรัพย์สินอยู่เฉยๆอยู่ 0.62% ความต่างนี้คือ impermanent loss ที่อลิซต้องเสียไปเป็นมูลค่า 44.58 BUSD

คุณอาจจะเคยเห็นกราฟแบบนี้ ที่แสดงผลของ Impermanent Loss ในขณะที่ราคามีการเคลื่อนไหวจากราคาเริ่มต้น ในตอนแรก กราฟอาจจะดูน่ากลัวเนื่องจากกราฟไปตกลงไปสู่จุดที่ -100%! แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าหากพิจารณาให้ดี เราจะสังเกตว่า IL ก็ไม่ได้ต่างจากความเสี่ยงของการลงทุนในรูปแบบอื่นๆเท่าไหร่ ซึ่งถ้าหากคุณเข้าใจมัน คุณก็สามารถวางแผนการลงทุนของคุณได้เป็นอย่างดีเช่นเดียวกันการป้องกันความเสี่ยงชนิดอื่นๆ

ถ้าเกิดขยายกราฟขึ้นอีกหน่อย และสนใจแต่ราคาที่ใกล้เคียงกับราคาเริ่มต้น (กราฟข้างล่าง) ความชันของบริเวณนี้จะไม่ได้รุนแรงนัก โดย Impermanent Loss จะมีค่า < 2% ตราบใดก็ตามที่ราคาของททรัพย์สินไม่ได้ต่างเกินกว่า 50% ของราคาเริ่มต้น! พูดอีกอย่างก็คือ IL ไม่ได้เป็นส่วนสำคัญใน short-term หรือ medium-term สำหรับทรัพย์สินที่ไม่ได้ผันผวนรุนแรง มันเป็นสิ่งที่ควรจะรู้เอาไว้ แต่ไม่ได้เป็นสิ่งที่ควรจะกลัว ตราบใดก็ตามที่คุณเข้าใจมัน

🤔 Impermanent Loss เป็นการสูญเสียจริงๆหรือเปล่า?

คำแนะนำที่เราได้ยินมาบ่อยๆคือการไม่ถอนทรัพย์สินออกจาก LP positions เพื่อป้องกันไม่ให้ Impermanent Loss กลายเป็น permanent

“รอจนกว่าอัตราแลกเปลี่ยนกลับเข้าสู่สภาวะปกติก่อนที่จะถอนทรัพย์สินออกจาก LP position.”

อย่างไรก็ตาม คำแนะนำนี้อาจทำให้คุณเข้าใจผิด คำแนะนำนี้ไม่ต่างจากการที่นักเทรดหุ้นบอกว่า ไม่ขาดทุนตราบใดที่ยังไม่ได้ขาย ซึ่งในความจริงแล้ว ในความจริงแล้ว ไม่มีอะไรที่จะเป็น impermanent loss ไปมากกว่าการซื้อหุ้นที่ราคาตกลงตั้งแต่คุณซื้อ โดยคุณจะต้องรอให้ราคากลับขึ้นมาถึงจุดตั้งต้น เพื่อทำให้ความสูญเสียนั้นหายไป

เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าการถอนทรัพย์สินออกจาก LP ไม่ได้ส่งผลอะไรต่อ impermanent loss ให้ลองจินตนาการถึงกรณีนี้ ถ้าหากราคาของทรัพย์สินใน LP position ขยับ และคุณได้าสะสม Impermanent Loss มาเป็นจำนวนหนึ่ง คุณสามารถถอน liquidity ออกจาก LP position นี่เป็นสิ่งที่คำกล่าวข้างต้นไม่แนะนำให้คุณทำ เนื่องจากจะทำให้ impermanent loss ของคุณ มีผลเป็น permanent

อย่างไรก็ตาม ถ้าหากคุณถอน liquidity ออกจาก LP คุณสามารถใส่มันกลับเข้าไปในอัตราส่วนเดิม และคุณก็จะพบว่า คุณอยู่ที่ตำแหน่งเดียวกันกับก่อนที่คุณจะถอน liquidity ของคุณออกมา ถ้าเกิดว่าคุณเทียบกับราคาตั้งต้นของคุณ Impermanent Loss ก็จะมีอัตราเท่าเดิม ถ้าหากราคาของทรัพย์สินของคุณกลับไปสู่จุดเริ่มต้น Impermanent Loss ของคุณก็จะมีค่าเป็น 0 เพราะฉะนั้น การถอน liquidity ทำให้ impermanent loss ของคุณเป็น permanent จริงหรือ? คำตอบคือไม่

มากไปกว่านั้น การถอน liquidity และถือเหรียญของคุณนอก LP และราคาของทรัพย์สินกลับไปสู่สุดเริ่มต้น คุณจะได้ผลตอบแทนมากกว่า “Impermanent Loss ที่คุณได้กลับคืนมา ในกรณีที่คุณใส่ทรัพย์สินไว้ใน LP” นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม Impermanent Loss ถึงเป็นสิ่งที่ผู้คนต่างเข้าใจผิดและกลัวกันไปเอง ซึ่งคุณสามารถเข้าใจมันอย่างถ่องแท้ได้โดยการศึกษาที่แนวคิดของมัน

💡การมอง Impermanent Loss ในมุมมองอื่น

เราเสนอให้มอง Impermanent Loss เป็นสิ่งที่คุณสามารถใช้ประโยชน์จากมันได้

เกิดอะไรขึ้นในการปรับสมดุลของ AMM?

การปรับสมดุลของ AMM ทำให้เกิด Impermanent Loss ว่าแต่ การปรับสมดุลนั้น ทำงานอย่างไร? ความจริงนั้นมันง่ายกว่าที่คุณคิดมาก สมมุติว่าคุณมี LP pair ของ BTC-BNB ที่อัตราเริ่มต้นเป็น 50:50 ซึ่งราคาของทรัพย์สินนั้นไม่สำคัญในการพิจารณาการปรับสมดุล สิ่งที่สำคัญคือความต่างของราคาของทรัพย์สินเทียบกับทรัพย์สินอีกฝั่ง เราสามารถเรียกอัตราส่วน 50:50 เป็น 1:1 เพื่อความง่ายในการคำนวณ

ถ้าหากราคาของ BTC ขึ้น 10% เมื่อเทียบกับ BNB จะทำให้อัตราส่วนใหม่เป็น 1.1:1 ก่อนที่จะเกิดการปรับสมดุล ตอนนี้ AMM จะต้องทำการปรับสมดุลให้เกิดอัตราส่วน 1:1 โดยการขาย BTC และซื้อ BNB เพิ่มขึ้นจนกว่าอัตราส่วนจะเป็น 1:1 ในขณะที่ราคาของ BTC เพิ่มขึ้นเรื่อยๆเมื่อเทียบกับ BNB AMM ก็จะขาย BTC และซื้อ BNB อยู่เรื่อยๆ จนเมื่อราคาของ BTC กลับลงมาเมื่อเทียบกับ BNB AMM ก็จะทำสิ่งตรงกันข้าม คือขาย BNB และซื้อ BTC

นักเทรดอาจจะคิดว่าสิ่งเหล่านี้ดูคุ้นเคย ซึ่งเป็นเรื่องจริง เพราะว่ามันเป็นสิ่งเดียวกับการทำ dollar cost averaging(หรือ DCA) สิ่งที่ AMM ทำ ก็คือการ DCA เหรียญของคุณ

เมื่อราคาของ BTC สูงขึ้น เทียบกับ BNB ดังเช่นตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้น AMM จะ DCA ขาย BTC เรื่อยๆ และในขณะที่ราคาของ BTC ลดลง AMM ก็จะ DCA ซื้อ BTC เพิ่มขึ้น คำถามถัดไปคือ ในเมื่อกลยุทธนี้ถูกใช้งานโดยนักเทรด เราสามารถใช้ประโยชน์จากการปรับสมดุลของ AMM ได้ไหม? คำตอบคือได้!

การสะสมแบบ Dollar cost averaging

สมมุติว่าเป้าหมายของคุณคือการสะสม BTC และคุณจะมีความสุขถ้าเกิดคุณต้องการซื้อมันเมื่อราคามันตก เพราะว่าคุณคิดว่าราคามันจะขึ้นในระยะยาว แทนที่คุณจะถือเงินสดเอาไว้ และตั้งคำสั่งซื้อในราคาที่ถูกลง คุณสามารถ provide liquidity ใน BTC-stablecoin LP pair เพราะว่าการปรับสมดุลที่เกิดขึนใน LP pool ทำให้ position ของคุณสะสม BTC มากขึ้นเรื่อยๆโดยอัตโนมัติเมื่อราคาของ BTC ลดลง! LP position ของคุณจะทำ dollar cost averaging โดยการซื้อ BTC ที่ราคาต่ำ ผ่านกลไกของ AMM!

มันเป็นความจริงที่ว่าการทำ average buying อาจจะไม่ได้ดีเท่ากับการซื้อที่จุดต่ำสุด อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครสามารถซื้อที่จุดสูงสุดได้ตลอดเวลา 😅

การทำสิ่งนี้โดยการ provide LP สามารถมองได้ว่าเป็นกลไกอัตโนมัติ ที่จะคอยทำตามกลยุทธนี้ให้คุณในขณะที่คุณนอนหลับ และจะทำให้คุณไม่ต้องคาดเดาว่า จุดไหนคือจุดต่ำสุดของราคา สิ่งที่สำคัญกว่าคือ คุณจะได้ผลตอบแทนจากการเทรดตลอดเวลา ซึ่งทำให้การฟาร์มใน LP positiom เป็นกลยุทธที่ดีในการลงทุนแบบ long-term!

เพิ่มเติมคือ เราสามารถออกจาก LP position ถ้าหากคุณรู้สึกว่าคุณได้ถึงจุดต่ำสุดของราคาเรียบร้อยแล้ว และเสีย “Impermanent Loss” จำนวนหนึ่ง เพราะว่าคุณจะได้รับผลตอบแทนมากกว่าในกรณีที่ราคาของ BTCเพิ่มขึ้นในภายหลัง

ลองดูตัวอย่างของกรณีนี้ไปพร้อมๆกัน:

บ้อบ มี 1 BTC และ 40k BUSD และตัดสินใจ provide liquidity ใน BTC-BUSD LP pool เพื่อความง่าย เราจะสมมุติว่า 1 BTC = 40k BUSD ในขณะนั้น ซึ่งทำให้เกิดอัตราส่วน 50:50

t= 0

ทรัพย์สินของบ้อบเป็น = 1 BTC + 40,000 BUSD = 80,000 BUSD

เวลาผ่านไป และราคาของ BTC ลดลงเป็น 30k BUSD.

t = 1

ทรัพย์สินของบ้อบเป็น = 1.15 BTC + 34,641 BUSD = 69,282 BUSD

บ้อบเชื่อว่า ราคา 30k เป็นจุดต่ำสุดของราคาของ BTC เขาคิดว่าราคาจะขึ้นต่อจากนี้ เขาเลยตัดสินใจ ถอน LP ของเขา ตอนนี้ เข้าได้รับ 1.15 BTC + 34,641 BUSD กลับคืนมา

หลังจากนี้ ถ้าเกิดว่าบ้อบเดาถูก และราคาได้กลับขึ้นมาที่ 40k

t=3

ทรัพย์สินของบ้อบเป็น =1.15 BTC + 34,641 BUSD = 80,641 BUSD

โดยการถอน LP เมื่อ BTC อยู่ที่ 30k BUSD บ้อบไม่ได้ถูกปรับสมดุลซึ่งจะทำการขาย BTC ของเขาไปเป็น BUSD ในขณะที่ราคาของ BTC เพิ่มขึ้น ทำให้เขาได้รับผลตอบแทนมากขึ้น 641 BUSD เทียบกับจุดที่เขาเริ่มต้น (ไม่ได้นับผลตอบแทนจากการฟาร์ม) เมื่อบ้อบมั่นใจในการคาดเดาราคา บ้อบสามารถได้กำไรจากการถอน LP

การกระจายทรัพย์สินแบบ Dollar cost averaging

ถัดไปจะเป็นสิ่งตรงข้ามกับตัวอย่างข้างบน สมมุติว่าคุณมีความสุขกับการค่อยๆทำกำไรบางส่วนจาก crypto ในขณะที่ราคาขึ้น ในกรณีนี้ คุณสามารถลงทุนใน LP position และเมื่อราคาขยับขึ้น คุณจะทำการขายแบบ dollar-cost-average โดยอัตโนมัติผ่านกลไก AMM

เช่นเดียวกัน ถ้าเกิดคุณคิดว่าราคาถึงจุดสูงสุดแล้ว คุณสามารถถอน LP ของคุณ และขายทรัพย์สินของคุณ เพื่อหลีกเลี่ยงการที่ AMM จะซื้อมันกลับมาในขณะที่ราคาลดลง ซึ่งถ้าคุณต้องการ คุณสามารถเข้าไปใหม่ได้ ในขณะที่ราคาอยู่ในระดับที่ต่ำลง หรือคุณสามารถเปิด short position โดยใช้ Alpaca Finance!

การเสี่ยงดวงใน sideways market หรือในขณะที่ตลาดมีความไม่แน่นอน

จากที่อธิบายไปเบื้องต้นการ provide LP สามารถสร้างประโยชน์ในการที่คุณจะเข้าหรืออกจากตลาดได้เพื่อลดความเสี่ยงในกรณีที่คุณไม่มีความมั่นใจในสภาวะของตลาด ซึ่งเป็นปกติของนักเทรดมือสมัครเล่นทั่วไป ในความเป็นจริงแล้ว ถึงแม้จะเป็นนักเทรดมืออาชีพ ก็ไม่สามารถมั่นใจในการคาดเดาสภาวะของตลาดได้เช่นเดียวกัน

ถึงแม้ว่าพกเราหลายคนจะมีความเชื่อว่าตลาดจะพุ่งขึ้น เราก็ไม่สามารถรู้ได้ว่า มันจะเกิดขึ้นใน 1 เดือน, 1 ปี, หรือ 5 ปี ซึ่งถ้าหากมันกินระยะเวลานาน การที่เราถอทรัพย์สินไว้เฉยๆก็จะทำให้เราเสียโอกาสในการได้ดอกเบี้ยจากทรัพย์สินเหล่านั้นจากการฟาร์มใน protocol เช่น Alpaca!

นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าคุณสามารถป้องกันความเสี่ยงได้จากการ provide LP! ถึงแม้จะเป็นสถานการณ์ที่ไม่ได้เปรียบเท่าไหร่ เช่นการที่ราคาทรัพย์สินพุ่งขึนสูงในระยะเวลาอันสั้นและคุณเสีย impermanent loss แต่ผลตอบแทนที่คุณได้รับจากการฟาร์มก็สามารถทดแทนส่วนนั้นได้!

ลองดูสถานการณ์ข้างบนอย่างละเอียดมากขึ้นอีกหน่อย โดยปกติแล้ว เมื่อคุณลงทุนในตลาด คุณจะต้องดำเนินการเหล่านี้:

ถ้าคุณเชื่อว่าตลาดจะขึ้น คุณจะต้องซื้อ หรือถือ long position

ถ้าคุณเชื่อว่าตลาดจะลง คุณจะต้องขาย หรือถือ short position

แต่ถ้าคุณไม่มั่นใจล่ะ? คุณจะปล่อยให้เงินของคุณอยู่ในธนาคารที่ให้ผลตอบแทนเข้าใกล้ 0 หรือเปล่า?

หรือถ้าหากคุณคิดว่า ตลาดกำลังอยู่ในช่วงพัก ก่อนที่จะเกิดการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ล่ะ? ทุกๆคนก็รู้ว่า ตลาดอาจจะมีการพักอย่างยาวนาน

ในสถานการณ์การพักของตลาด หรือความไม่มั่นใจในทิศทางของตลาด การลงทุนที่ดีคือการใส่ทรัพย์สินของคุณลงไปใน LP position ซึ่งทำให้คุณได้ผลตอบแทนถึงแม้ว่าราคาของทรัพย์สินจะไม่ได้ขยับไปไหน เนื่องจากการ DCA เมื่อราคามีการขยับ คุณสามารถกระจายความเสี่ยงได้ทั้งสองทิศทาง

ประเด็นก็คือ กลยุทธการทำ LP ต่างๆ จะได้รับผลกำไรในสภาวะตลาด sideways market ซึ่งทำกำไรมากกว่าการ long หรือ short ปกติ และคุณสามารถดัดแปลงกลยุทธได้ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการและความเสี่ยงที่คุณรับได้โดยการใช้ Alpaca ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะตัดสินใจอย่างไร ขอให้รู้เอาไว้ว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณก้าวขาเข้ามาสู่ฟาร์มของเรา คุณจะได้เห็นแต่สีเขียวขจีตราบเท่าที่ตาสองตาของคุณจะเห็นได้

เราหวังว่าบทความนี้จะได้ให้ความรู้ในเรื่องของ Impermanent Loss และการใช้ประโยชน์จากมันในการกระจายความเสี่ยง หรือ DCA ซึ่งทำให้มันกลายเป็นเครื่องมือที่คุณสามารถใช้ประโยชน์จากมัน มากกว่ากลัวมัน

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงจุดนี้ ถ้าหากคุณต้องการอ่านบทความแบบนี้อีก อย่าลืมติดตาม Alpaca Academy ของเรา ขอให้ฟาร์มอย่างมีความสุข!

Last updated